Disodium 5′-ribonucleotides

การใช้ในอาหาร

ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) E635 ใช้เพื่อปรุงแต่งรสอาหาร (flavor enhancer) อยู่ในกลุ่มเดียวกับ ผงชูรส (monosodium glutamate : MSG) ให้รสอูมามิ (umami) โดยออกฤทธิ์แรงกว่าผงชูรส MSG (monosodium glutamate) 50-100 เท่า ใช้เพื่อการเป็นสารเสริมกลิ่นรสของเนื้อสัตว์ มีสมบัติในการเสริมกลิ่นรสที่หลากหลาย ปรับรสเค็ม หรือรสหวาน และกดรสที่ไม่ต้องการ ละลายได้ดีในน้ำ และสร้างความรู้สึกของความหนืดที่เพิ่มขึ้นในอาหารเหลว คงตัวต่อการเปลี่ยนแปลงค่าพีเอช (pH) แต่ไม่คงตัวเมื่อมีเอนไซม์ฟอสฟาเทส (phosphatase) อยู่ด้วยในผลิตภัณฑ์อาหาร

นิยมใช้ผสมใน

  • อาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น ซุปกึ่งสำเร็จรูป บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป
  • เครื่องปรุงรส เช่น ซอสซีอิ๊ว ซอสปรุงรส  น้ำปลา ซุปปรุงรสชนิดก้อน ชนิดผง
  • อาหารขบเคี้ยวโดยใช้เป็นส่วนผสมเพื่อเสริมกลิ่นรสให้กับ สารให้กลิ่นรส
  • อาหารกระป๋อง เช่น อาหารทะเลกระป๋อง
  • อาหารแห้ง เช่น ปลาหมึก ปลาป่นตัวเล็ก และปริมาณการใช้ 0.05-0.1% ขึ้นกับชนิดของผลิตภัณฑ์
  • ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เช่น ไส้กรอก

ขนาดบรรจุ 25kg/กระสอบ

การจัดเก็บ
จัดเก็บสินค้าไว้ในที่แห้งและเย็น ห่างจากแสงแดดและกลิ่นแปลกปลอม อย่าให้ถูกความชื้น และทําการซีลปิดปากถุงทุกครั้งหลักจากการใช้งาน

 

Stabilizing agent (Stabilizer หรือ Stabiliser)

Stabilizing agent หมายถึงสารที่ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) เพื่อวัตถุประสงค์ ทำให้อาหารมีความคงตัว เช่น ป้องกันการแยกชั้นของเหลว ป้องกันการสูญเสียกลิ่นรส (flavor) คุณค่าทางโภชนาการ

Stabilizer หรือ สารให้ความคงตัว
คือส่วนประกอบซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นสารพวก polysaccharide food gum ที่ช่วยให้ความคงตัวกับผลิตภัณฑ์ โดยเพิ่มความหนืดให้กับไอศกรีมมิกซ์และไอศกรีมในส่วนที่ไม่เป็นน้ำแข็ง (น้ำประมาณ 20% ในไอศกรีมจะอยู่ในสภาพที่ไม่เป็นน้ำแข็ง) สารที่มักจะนำมาใช้เป็นสารให้ความคงตัวในไอศกรีมเช่น Locust bean gum (Carob bean gum), Guar gum, Carboxymethyl cellulose (CMC), Xanthan gum, Sodium alginate, และ Carrageenan

ข้อดี
การใส่สารให้ความคงตัวในไอศกรีมคือ ปรับปรุงเนื้อสัมผัสของไอศกรีม เพิ่มความข้นหนืดให้กับไอศกรีม ทำให้ไอศกรีมเนื้อไม่หยาบเป็นผลึกน้ำแข็งขนาดใหญ่ ลดปัญหาเนื้อไอศกรีมแตก ทำให้สามารถตักไอศกรีมเป็นลูกกลม ๆ ได้โดยเนื้อไม่แตกและหลุดออกจากกัน ช่วยให้เกิดความลื่นคอ ช่วยในการปล่อย (release) กลิ่นรสของไอศกรีมเมื่อรับประทาน ทำให้ได้กลิ่นรสที่ชัดเจนขึ้น ไอศกรีมละลายแล้วไม่เสียรูปทรง ลดและชลอการเกิดผลึกน้ำแข็งในไอศกรีม ช่วยให้อายุการเก็บรักษาของไอศกรีมนานขึ้น … ทั้งนี้ต้องขึ้นกับการเลือกชนิดของสารให้ความคงตัวที่เหมาะสมในปริมาณที่เหมาะสมด้วย หากใช้สารให้ความคงตัวมากเกินไป อาจจะทำให้ไอศกรีมมีเนื้อสัมผัสที่ไม่ต้องการ เช่นเหนียวหนืดมากเกินไป ละลายช้าหรือไม่ละลาย เนื้อแน่นเกินไป เป็นต้น